เมนู

12. อภิภายตนสูตร


[162] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องครอบงำ 8
ประการนี้ ประการเป็นไฉน คือ คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน
เห็นรูปในภายนอกเล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม
ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น
นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำประการที่ 1 คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน
เห็นรูปในภายนอกได้ไม่มีประมาณ ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณ
ทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว
จึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเครื่องครอบงำประการที่ 2 คนหนึ่งมีอรูปสัญญา
ในภายใน เป็นรูปในภายนอกได้เล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมี
ผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูป
เหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำประการที่ 3
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกได้ไม่มีประมาณ
ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ
ประการที่ 4 คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว
มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรูจึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ
ประการที่ 5 คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอก
เหลือง มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ย่อมมีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่อง

ครอบงำประการที่ 6 คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปใน
ภายนอกแดง มีสีแดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ย่อมมีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่อง
ครอบงำประการที่ 7 คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปใน
ภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว ย่อมมีความสำคัญว่า
เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ
ประการที่ 8 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องครอบงำ 8
ประการนี้แล.
จบ อภิภายตนสูตรที่ 12

อรรถกถาอภิภายตนสูตรที่ 5


อภิภายตสูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อภิภายตนานิ แปลว่า เหตุแห่งการครอบงำ. ครอบงำ
อะไร ? ครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึกบ้าง อารมณ์บ้าง. จริงอยู่
เหตุแห่งการครอบงำเหล่านั้น ย่อมครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึก
โดยภาวะเป็นปฏิปักษ์ ครอบงำอารมณ์โดยภาระที่บุคคลมีญาณ
สูงยิ่งขึ้นไป. ก็ในคำว่า อชฺฌตฺตํ รูปสญฺญี ดังนี้เป็นต้น
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้กำหนดรูปภายใน ด้วยอำนาจบริกรรมรูปภายใน.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อกระทำบริกรรมนีลกสิณในภายใน ย่อมกระทำ
ที่ผมที่ดี หรือที่ดวงตา. เมื่อกระทำบริกรรมปีตกสิณ ย่อมกระทำ
ที่มันข้น ที่ผิวหนัง ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า หรือที่ตำแหน่งสีเหลืองของ
ดวงตา. เมื่อจะกระทำบริกรรมโลหิตกสิณ ย่อมกระทำที่เนื้อ ที่โลหิต